วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ความหมายของคำว่า "ประชาธิปไตย"

คำว่า "ประชาธิปไตย" ประกอบด้วยคำว่า "ประชา" หมายถึงหมู่คน คือ ปวงชน กับคำว่า "อธิปไตย" หมายถึง ความเป็นใหญ่

คำว่า "ประชาธิปไตย" จึงหมายถึง ความเป็นใหญ่ของปวงชน

ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า "ประชาธิปไตย" ไว้ในหนังสือพจนานุกรมของทางราชการว่า "แบบการปกครองที่ถึงมติปวงชนเป็นใหญ่"

ทั้งนี้พึงเข้าใจว่าการที่ปวงชนจะมีความเป็นใหญ่ในการแสดงมติได้ก็จำเป็นที่ชนทุกคนรวมกันเป็นปวงชนนั้นต้องมี "สิทธิและหน้าที่ของมนุษยชน" อันเป็นสิทธิและหน้าที่ตามธรรมชาติของทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ คือสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค ซึ่งมนุษย์จะต้องใช้พร้อมกันกับหน้าที่ มิให้เกิดความเสียหายแก่เพื่อนมนุษย์อื่น และหมู่คนอื่น หรือปวงชนเป็นส่วนรวม ถ้าชนส่วนมากซึ่งเป็น "สามัญชน" ถูกตัดสิทธิมนุษยชนโดยให้มีหน้าที่แต่อย่างเดียว สามัญชนก็มีลักษณะเป็นทาส หรือข้าไพร่ของชนส่วนน้อย ซึ่งมีสิทธิใหญ่ยิ่ง หรือ "อภิสิทธิ์ชน" แบบการปกครองจึงไม่ใช่ประชาธิปไตย ถ้าสามัญชนมีสิทธิมนุษยชนอย่างเดีย โดยไม่มีหน้าที่มนุษยชนแบบการปกครองก็เกินขอบเขตของประชาธิปไตย

2 ความคิดเห็น:

ประชาธิปไตยเบ่งบาน กล่าวว่า...

เพราะฉะนั้น ประชาชนเป็นใหญ่ เย้ ๆๆๆ

ประชาธิปไตยเบ่งบาน กล่าวว่า...

เตือนความจำ กลัวทุกคนลืมประชาธิปไตยบ้านเรา